ภูเก็ตเมืองแห่งเศรษฐกิจพิเศษด้านสุขภาพ
ภูเก็ตเมืองแห่งเศรษฐกิจพิเศษด้านสุขภาพ
กดเพื่อขยายขนาด
<b>Notice</b>: Undefined variable: j in <b>/home/phuketarts/domains/phuketrecord.com/public_html/catalog/view/theme/default/template/content/content.tpl</b> on line <b>103</b><b>Notice</b>: Undefined index:  in <b>/home/phuketarts/domains/phuketrecord.com/public_html/catalog/view/theme/default/template/content/content.tpl</b> on line <b>103</b>
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่(บพท.) ร่วมกับศูนย์ประสานการส่งเสริมสุขภาพอันดามัน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ตจัดประชุมและแถลงข่าวแผนพัฒนาเศรษฐกิจระดับพื้นที่และความร่วมมือการวิจัยเชิงพื้นที่ยกระดับเศรษฐกิจใหม่จังหวัดภูเก็ต
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2564 ณ ศูนย์ประสานการส่งเสริมสุขภาพอันดามัน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำแผนการวิจัยเชิงพื้นที่และแผนพัฒนาพื้นที่เพื่อยกระดับสู่การเป็นเมืองสุขภาวะ” โดยมีนายจาดุร อภิชาตบุตร ประธานคณะกรรมการพิจารณาติดตามและประเมินผลฯ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ ทองชุมนุม รองอธิการบดีวิทยาเขตภูเก็ต ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการส่งเสริมสุขภาพอันดามัน รองศาสตราจารย์ดร.ปุ่น เที่ยงบรูณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วย บพท. นายฐาปนา บุณยประวิตร เลขานุการกฎบัตรไทย ตัวแทนจากสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB) และตัวแทนจากภาคธุรกิจโรงแรม ผู้แทนหัวหน้าส่วนราชการ คณะกรรมการกฎบัตรอันดามัน ผู้แทนผู้ประกอบโรงแรมและท่องเที่ยว และสื่อมวลชน เข้าร่วม
สำหรับการประชุมในวันนี้ มีการพิจารณากลไกและแพลตฟอร์มการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาคการผลิตจากภาคการโรงแรมเป็นภาคการโรงแรมส่งเสริมสุขภาพ หรือ wellness hotel ซึ่งแพลตฟอร์มนี้ จะก่อให้เกิดข้อค้นพบสำคัญในการเปลี่ยนผ่านรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีความยั่งยืน สนับสนุนการพลิกฟื้นเศรษฐกิจของอันดามันที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างหนัก ด้วยการฟื้นฟูภาคการโรงแรม การท่องเที่ยว และภาคเศรษฐกิจฐานรากที่สนับสนุนภาคการบริการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีศักยภาพในการตอบสนองต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนสามารถเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นเมืองสุขภาวะได้ตามวัตถุประสงค์ ซึ่งการพัฒนาตามแพลตฟอร์มดังที่ กล่าวมา คาดหวังว่าจะสามารถพัฒนาให้ภาคการท่องเที่ยวและภาคเศรษฐกิจของพื้นที่อันดามันและอ่าวไทยโดยรวม มีความมั่งคั่งและยั่งยืน
จากนั้น ในเวลา 10.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ ทองชุมนุม รองอธิการบดีวิทยาเขตภูเก็ต ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการส่งเสริมสุขภาพอันดามัน รองศาสตราจารย์ ดร.ปุ่น เที่ยงบรูณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วย บพท. นายฐาปนา บุณยประวิตร เลขานุการกฎบัตรไทย ตัวแทนจากสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(TCEB) และตัวแทนจากภาคธุรกิจโรงแรม ร่วมแถลงข่าวแผนพัฒนาเศรษฐกิจระดับพื้นที่ และความร่วมมือการวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อนำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจใหม่ของจังหวัดภูเก็ต เพื่อจัดทำแผนงานวิจัยเชิงพื้นที่และแผนพัฒนาเศรษฐกิจระดับพื้นที่ โดยความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและภาคีเครือข่ายในการพัฒนาเมือง ระหว่างวันที่ 19 – 20 มีนาคม 2564 ณ ศูนย์ประสานงานการส่งเสริมสุขภาพอันดามัน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต โดยหน่วย บพท.เพื่อตอบเป้าหมายและตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ตามแพลตฟอร์มที่ 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำใน 3 โปรแกรม ประกอบด้วย โปรแกรมที่ 13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากชุมชนนวัตกรรม โปรแกรมที่ 14 การขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ และโปรแกรมที่ 15 เมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ ซึ่งในปีงบประมาณ 2564 หน่วย บพท. ได้พัฒนาแผนงานสำคัญ เรื่องการพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่ มีเป้าหมายให้เกิดกลไกการพัฒนาระดับพื้นที่ สร้างความเปลี่ยนแปลงการลงทุนระดับเมือง ผ่านชุดความรู้ด้านการพัฒนาเมืองเพื่อขยายผลเชิงพื้นที่ ซึ่งการประชุมเชิงปฏิบัติการและการแถลงข่าวในครั้งนี้ นับว่าสอดคล้องกับเป้าหมายและตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์
ทั้งนี้ ในวันที่ 30 มีนาคม 2564 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กฎบัตรไทย และองค์กรภาคีเครือข่าย จะเปิดหลักสูตรการบริหารจัดการโรงแรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้บริหารรุ่น 1 โดยมีผู้บริหารโรงแรมที่พร้อมในการปรับเปลี่ยนโรงแรมเป็นโรงแรมส่งเสริมสุขภาพจากจังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานีเข้าร่วม จำนวน 120 โรง พร้อมการประกาศการพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพเพื่อการพลิกฟื้นเศรษฐกิจอันดามันและอ่าวไทยหรือ Wellness Package for Southern Economic Recovery ต่อสาธารณะ ซึ่งการฝึกอบรมมีเป้าหมายเพื่อยกระดับสมรรถนะของผู้บริหารและบุคลากรของโรงแรมส่งเสริมสุขภาพและการพัฒนามาตรฐานการส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการและบุคลากร ดำเนินการด้วยฐานความรู้จากการวิจัย การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ และการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล นับเป็นการพัฒนาศักยภาพทั่วทั้งระบบของซับพลายเชนในระบบเศรษฐกิจเขียวของการส่งเสริมสุขภาพ เชื่อว่า จะสามารถพัฒนาให้ภาคการท่องเที่ยวและภาคเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดภูเก็ต และในพื้นที่ อันดามันและอ่าวไทยให้มีความมั่งคั่งและยั่งยืน ต่อไป
โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความคิดเห็น
1. โปรดงดเว้น การใช้คำหยาบคาย ส่อเสียด ดูหมิ่น กล่าวหาให้ร้าย สร้างความแตกแยก หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
2. ทุกความคิดเห็นไม่เกี่ยวข้องกับ "บันทึกภูเก็ต" และไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้
3. "บันทึกภูเก็ต" ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ต่อเจ้าของความคิดเห็น
เพื่อให้การแสดงความคิดเห็นเป็นไปตามกฎกติกาที่วางไว้ "บันทึกภูเก็ต" ได้ปรับปรุงระบบการกรองคำให้เข้มงวดยิ่งขึ้น
กรุณารอสักครู่ ก่อนที่ความคิดเห็นของท่านจะถูกนำขึ้นแสดง
เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:


ความคิดเห็น: คำแนะนำ: HTML จะไม่ถูกแปลง!

ความนิยม: แย่            ดี

ป้อนรหัสในกล่องข้างล่างนี้:

ภูเก็ตเมืองแห่งเศรษฐกิจพิเศษด้านสุขภาพ
กดเพื่อขยายขนาด
ภูเก็ตเมืองแห่งเศรษฐกิจพิเศษด้านสุขภาพ
กดเพื่อขยายขนาด
ภูเก็ตเมืองแห่งเศรษฐกิจพิเศษด้านสุขภาพ
กดเพื่อขยายขนาด
ภูเก็ตเมืองแห่งเศรษฐกิจพิเศษด้านสุขภาพ
กดเพื่อขยายขนาด