กฟผ.จัดสัมมนาสื่อมวลชนภาคใต้ “สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าอันดามัน”
กฟผ.จัดสัมมนาสื่อมวลชนภาคใต้ “สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าอันดามัน”
กดเพื่อขยายขนาด
<b>Notice</b>: Undefined variable: j in <b>/home/phuketarts/domains/phuketrecord.com/public_html/catalog/view/theme/default/template/content/content.tpl</b> on line <b>103</b><b>Notice</b>: Undefined index:  in <b>/home/phuketarts/domains/phuketrecord.com/public_html/catalog/view/theme/default/template/content/content.tpl</b> on line <b>103</b>

กฟผ.จัดสัมมนาเครือข่ายสื่อมวลชนภาคใต้ เรื่อง “สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าอันดามัน” เพื่อให้ข้อมูลด้านภารกิจของ กฟผ. ระบบส่งไฟฟ้า และสัดส่วนของการใช้เชื้อเพลิงในการผลัดพลังงานไฟฟ้าของประเทศอย่างถูกต้อง รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นมุมมองข้อเสนอแนะด้านพลังงานจากสื่อมวล ปิดท้ายด้วยกิจกรรมกีฬาสานสัมพันธ์สื่อมวลชน กฟผ.

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2558 นายวรพจน์ อินทร์ทอง ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคใต้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาสื่อมวลชนภาคใต้ ประกอบด้วยสื่อมวลชนจาก จ.กระบี่ จ.พังงา และจ.ภูเก็ต เรื่อง “สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าอันดามัน” และกิจกรรมกีฬาสานสัมพันธ์สื่อมวลชน กฟผ. โดยมีสื่อมวลชนภาคใต้และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมงานกว่า 100 คน ณ ฝ่ายปฏิบัติการภาคใต้ จ.กระบี่

นายวรพจน์ อินทร์ทอง ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคใต้ กฟผ. เปิดเผยว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อให้ความรู้สร้างความเข้าใจภารกิจของ กฟผ. ในภาพรวมและสถานการณ์พลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะการดูแลรักษาระบบส่งไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้เพื่อให้เกิดความมั่นคงสูงสุด โดยจัดการสัมมนาเรื่อง “สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าอันดามัน” โดยมีทั้งการให้ข้อมูลข้อเท็จจริงจาก กฟผ. และรับทราบมุมมองของสื่อมวลชน อันเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันภายใต้บรรยากาศของความเป็นกันเองไปพร้อมๆ กันด้วย ปิดท้ายด้วยกิจกรรมกีฬาสานสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชน กฟผ. ด้วยความสนุกสนาน

กฟผ. ภาคใต้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับเครือข่ายสื่อมวลชนทุกแขนง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสื่อมวลชนได้เผยแพร่ข่าวสารของ กฟผ. ด้วยดีมาโดยตลอด ทั้งในภาวะปกติและในช่วงที่ กฟผ. มีเหตุการณ์วิกฤติ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจไปสู่ประชาชน ตลอดจนการเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับทราบ และตระหนักถึงถานการณ์พลังงานไฟฟ้าในภาคใต้ที่จำเป็นต้องมีแหล่งผลิตไฟฟ้าในพื้นที่เอง เนื่องจากปัจจุบันกำลังผลิตไฟฟ้าในภาคใต้มีปริมาณน้อยกว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคใต้มีปริมาณน้อยกว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ซึ่ง กฟผ. ได้มีการวางแผนเพื่อพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าและขยายระบบส่งให้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น รองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าวตลอดจนต้องมีการกระจายสัดส่วนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าอย่างเหมาะสม ทั้งก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน พลังงานหมุนเวียนต่างๆ รวมทั้งการรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศด้วย

“กฟผ. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า สื่อมวลชนทุกท่านจะได้นำความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากการสัมมนาครั้งนี้ไปเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่องต่อไป และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หากเกิดเหตุการณ์ด้านพลังงานไฟฟ้าในแง่มุมใดก็ตาม สื่อมวลชนทุกท่านจะได้ให้โอกาส กฟผ. ชี้แจงข้อเท็จจริง ข้อสงสัยต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้และเข้าใจอย่างถูกต้อง ขอขอบคุณสื่อมวลชนทุกท่านที่ให้ความร่วมมือกับ กฟผ. ด้วยดีมาโดยตลอด” ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคใต้ กล่าว

ด้านนายวิชัย สิมะธัมนันท์ ผู้ช่วยผู้ว่าการก่อสร้างระบบส่ง กฟผ. กล่าวถึงการประชุมรับฟังความคิดเห็นและชี้แจงโครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้า 500 กิโลโวลต์ สุราษฎร์ธานี 2 – ภูเก็ต 3 ว่า กฟผ.และประชาชนมีความเห็นร่วมกันในการดำเนินงานระบบโครงข่ายไฟฟ้า 500 กิโลโวลต์ สุราษฏร์ธานี 2 – ภูเก็ต 3 จากจังหวังพังงามายังจังหวัดภูเก็ต กฟผ. จะก่อสร้างระบบโครงข่ายไฟฟ้าดังกล่าวในแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง 115 กิโลโวลต์ พังงา 2 – ภูเก็ต 3 ออก และก่อสร้างระบบโครงข่ายไฟฟ้า 500 กิโลโวลต์ สุราษฎร์ธานี 2 – ภูเก็ต 3 ให้แล้วเสร็จภายในปี 2562 เพื่อให้ทันต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าในจังหวัดภูเก็ต ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากการก่อสร้างระบบโครงข่ายไฟฟ้า 500 กิโลโวลต์ สุราษฎร์ธานี 2 – ภูเก็ต 3 แยกจากสายส่ง 115 กิโลโวลต์พังงา 2 – ภูเก็ต 3 เดิมนั้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงไฟฟ้าในจังหวัดภูเก็ตไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้และเกิดไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง และยังเป็นการเพิ่มความมั่นคงในระบบไฟฟ้าภาคใต้ในภาพรวมอีกด้วย

ในขั้นตอนต่อไป กฟผ. จะดำเนินการด้านการออกแบบวิศวกรรมระบบโครงข่ายไฟฟ้า 500 กิโลโวลต์ สุราษฎร์ธานี 2 – ภูเก็ต 3 อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เหมาะสมกับการก่อสร้างในแนวสายส่งไฟฟ้า 115 กิโลโวลต์ เดิมและเร่งชี้แจง ทำความเข้าใจกับประชาชนใสพื้นที่เขตเดินสายไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัย ซึ่งการก่อสร้างระบบโครงข่ายไฟฟ้าดังกล่าว จะไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนเพิ่มขึ้น เนื่องจาก กฟผ. ไม่ขยายเขตเดินสายไฟฟ้าเพิ่มเติม แต่ในระหว่างงานก่อสร้างและใช้งานสายส่งไฟฟ้าชั่วคราว 230 กิโลโวลต์ พังงา 2 – ภูเก็ต 3 กฟผ. อาจต้องดูแลไม่ให้มีต้นไม้ในเขตเดินสายไฟฟ้าชั่วคราว โดยจ่ายค่าทดแทนให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการตัดต้นไม้ในเขตเดินสายไฟฟ้าชั่วคราว เนื่องจากหากเกิดพายุฝนฟ้าคะนองอาจส่งผลให้ต้นไม้ล้มพาดสายไฟฟ้าก่อให้เกิดไฟฟ้าดับในจังหวัดภูเก็ตได้

สำหรับข้อเสนอให้ กฟผ. ก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าแรงสูงใต้ดินในจังหวัดภูเก็ตนั้น นายวิชัย สิมะธัมนันท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าใต้ดินจะสูงกว่าค่าก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าแบบเดิมกว่า 30 เท่าซึ่ง กฟผ. จำเป็นต้องขอความเห็นชอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจไม่ทันต่อความจำเป็นในการตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ กฟผ. ขอรับข้อเสนอแนะไปศึกษาความเหมาะสมเพิ่มเติมต่อไป

ปัจจุบันจังหวัดภูเก็ต มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงถึง 390 เมกะวัตต์ ซึ่งใกล้กับขีดจำกัดที่สายส่งไฟฟ้าแรงสูงทั้ง 2 สาย เดิมของ กฟผ. ได้แก่ สายส่ง 115 กิโลโวลต์ พังงา 2 – ภูเก็ต 3 และสายส่งไฟฟ้า 230 กิโลโวลต์ พังงา 2 – ภูเก็ต 3 จะจ่ายได้ จำนวน 455 เมกะวัตต์ “กฟผ. ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจหลักด้านการผลิตและส่งกระแสไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ จึงวางแผนพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้า 500 กิโลโวลต์ สุราษฎร์ธานี 2 – ภูเก็ต 3 เพื่อเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้า รวมถึงตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าของจังหวัดภูเก็ต ในระยะยาว ทั้งนี้ คาดว่าเมื่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า 500 กิโลโวลต์ สุราษฎร์ธานี 2 – ภูเก็ต 3 แล้วเสร็จในปี 2562 จะสามารถส่งไฟฟ้ามายังจังหวัดภูเก็ตได้กว่า 2,000 เมกะวัตต์” นายวิชัย สิมะธัมนันท์ กล่าวในที่สุด

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความคิดเห็น
1. โปรดงดเว้น การใช้คำหยาบคาย ส่อเสียด ดูหมิ่น กล่าวหาให้ร้าย สร้างความแตกแยก หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
2. ทุกความคิดเห็นไม่เกี่ยวข้องกับ "บันทึกภูเก็ต" และไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้
3. "บันทึกภูเก็ต" ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ต่อเจ้าของความคิดเห็น
เพื่อให้การแสดงความคิดเห็นเป็นไปตามกฎกติกาที่วางไว้ "บันทึกภูเก็ต" ได้ปรับปรุงระบบการกรองคำให้เข้มงวดยิ่งขึ้น
กรุณารอสักครู่ ก่อนที่ความคิดเห็นของท่านจะถูกนำขึ้นแสดง
เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:


ความคิดเห็น: คำแนะนำ: HTML จะไม่ถูกแปลง!

ความนิยม: แย่            ดี

ป้อนรหัสในกล่องข้างล่างนี้:

กฟผ.จัดสัมมนาสื่อมวลชนภาคใต้ “สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าอันดามัน”
กดเพื่อขยายขนาด
กฟผ.จัดสัมมนาสื่อมวลชนภาคใต้ “สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าอันดามัน”
กดเพื่อขยายขนาด
กฟผ.จัดสัมมนาสื่อมวลชนภาคใต้ “สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าอันดามัน”
กดเพื่อขยายขนาด
กฟผ.จัดสัมมนาสื่อมวลชนภาคใต้ “สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าอันดามัน”
กดเพื่อขยายขนาด
กฟผ.จัดสัมมนาสื่อมวลชนภาคใต้ “สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าอันดามัน”
กดเพื่อขยายขนาด
กฟผ.จัดสัมมนาสื่อมวลชนภาคใต้ “สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าอันดามัน”
กดเพื่อขยายขนาด
กฟผ.จัดสัมมนาสื่อมวลชนภาคใต้ “สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าอันดามัน”
กดเพื่อขยายขนาด
กฟผ.จัดสัมมนาสื่อมวลชนภาคใต้ “สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าอันดามัน”
กดเพื่อขยายขนาด
กฟผ.จัดสัมมนาสื่อมวลชนภาคใต้ “สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าอันดามัน”
กดเพื่อขยายขนาด
กฟผ.จัดสัมมนาสื่อมวลชนภาคใต้ “สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าอันดามัน”
กดเพื่อขยายขนาด
กฟผ.จัดสัมมนาสื่อมวลชนภาคใต้ “สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าอันดามัน”
กดเพื่อขยายขนาด
กฟผ.จัดสัมมนาสื่อมวลชนภาคใต้ “สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าอันดามัน”
กดเพื่อขยายขนาด
กฟผ.จัดสัมมนาสื่อมวลชนภาคใต้ “สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าอันดามัน”
กดเพื่อขยายขนาด
กฟผ.จัดสัมมนาสื่อมวลชนภาคใต้ “สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าอันดามัน”
กดเพื่อขยายขนาด
กฟผ.จัดสัมมนาสื่อมวลชนภาคใต้ “สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าอันดามัน”
กดเพื่อขยายขนาด
กฟผ.จัดสัมมนาสื่อมวลชนภาคใต้ “สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าอันดามัน”
กดเพื่อขยายขนาด
กฟผ.จัดสัมมนาสื่อมวลชนภาคใต้ “สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าอันดามัน”
กดเพื่อขยายขนาด
กฟผ.จัดสัมมนาสื่อมวลชนภาคใต้ “สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าอันดามัน”
กดเพื่อขยายขนาด
กฟผ.จัดสัมมนาสื่อมวลชนภาคใต้ “สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าอันดามัน”
กดเพื่อขยายขนาด
กฟผ.จัดสัมมนาสื่อมวลชนภาคใต้ “สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าอันดามัน”
กดเพื่อขยายขนาด
กฟผ.จัดสัมมนาสื่อมวลชนภาคใต้ “สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าอันดามัน”
กดเพื่อขยายขนาด