อบจ.ภูเก็ตร่วมพิธีบวงสรวงวันคล้ายวันประสูติกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
อบจ.ภูเก็ตร่วมพิธีบวงสรวงวันคล้ายวันประสูติกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
กดเพื่อขยายขนาด
<b>Notice</b>: Undefined variable: j in <b>/home/phuketarts/domains/phuketrecord.com/public_html/catalog/view/theme/default/template/content/content.tpl</b> on line <b>103</b><b>Notice</b>: Undefined index:  in <b>/home/phuketarts/domains/phuketrecord.com/public_html/catalog/view/theme/default/template/content/content.tpl</b> on line <b>103</b>

อบจ.ภูเก็ต ร่วมพิธีบวงสรวง วันคล้ายวันประสูติกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ “องค์พระบิดาของทหารเรือไทย” ​

​เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 เวลา 08.45 น. นายธีระ เจี่ยสกุล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต เข้าร่วมพิธีบวงสรวงพระรูป วันคล้ายประสูติของ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เนื่องในวันครบรอบ 137 ปี เพื่อรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงมีต่อกองทัพเรือ และประเทศชาติ โดย พลเรือโท สุระพล คุปตะพันธ์ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 เป็นประธานในพิธี ณ พลับพลาที่ประทับกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สะพานหิน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

​พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประสูติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2423 ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาโหมด มีพระกนิษฐาและพระอนุชาร่วมพระมารดา 2 พระองค์ คือ พระองค์เจ้าหญิงอรองค์อรรคยุพา และเจ้าสิริยง ประยูรพันธ์ ภายหลังเหตุการณ์ ร.ศ.112 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นว่ากิจกรรมทหารเรือไทยในขณะนั้น ยังไม่มีความมั่นคง เนื่องจากนายทหารเรือที่เป็นคนไทย และมีความรู้ด้านวิชาการทหารเรือมีจำนวนน้อย ต้องว่าจ้างชาวต่างประเทศเป็นจำนวนมาก มาปฏิบัติหน้าที่นายทหารในหน่วยต่างๆ ของกรมทหารเรือ ทั้งในหน่วยงานและในเรือหลวง จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ เสด็จไปทรงศึกษาวิชาการทหารเรือ ณ ประเทศอังกฤษ โดยตลอดระยะเวลาที่ทรงศึกษาอยู่นั้น ได้มีพระวิริยะอุตสาหะ จนปรากฏผลการศึกษาอยู่ในขั้นดีเยี่ยม จึงเป็นที่รักใคร่ของครู อาจารย์ และเป็นที่ยอมรับนับถือในความสามารถของชาวอังกฤษที่ได้ศึกษาร่วมกัน ด้วยพระหฤทัยอันแน่วแน่ที่จะปฏิรูปและพัฒนาการทหารเรือให้มีความเข้มแข็งเพื่อเป็นหลักสำคัญในการป้องกันประเทศได้อย่างแท้จริง พระองค์ได้ทรงทุ่มเทพระวรกาย และพระสติปัญญาในการพัฒนา และวางรากฐานให้กรมทหารเรือมีความก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ โดยในปี พ.ศ.2443 ทรงริเริ่มจัดตั้งหน่วยฝึกทหารเหล่าทัศนสัญญาณ และทรงฝึกหัดทหารด้วยพระองค์เองเป็นหน่วยแรก ต่อมาได้ทรงปรับปรุงการฝึกในเรือรบ ทำให้กองทัพเรือสามารถจัดเรือไปฝึกภาคเป็นกองเรือได้ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ ได้ทรงจัดทำโครงการป้องกันประเทศทางด้านทะเล ซึ่งเป็นแผนการทัพฉบับแรกนับตั้งแต่เริ่มจัดตั้งกรมทหารเรือขึ้น และได้ทรงปรับปรุงการศึกษาในโรงเรียนนายเรือ เพื่อให้นักเรียนนายเรือมีความรู้ความสามารถในการเดินเรือในทะเลลึกได้ และทรงมีพระดำริให้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนนายช่างกล เพื่อสร้างนายทหารเหล่าช่างกล สำหรับปฏิบัติราชการนายเรือ และโรงงานบนบก ทดแทนการจ้างชาวต่างประเทศ ในปี พ.ศ.2450 ทรงนำนักเรียนนายเรือ และนายช่างกล ไปฝึกภาคต่างประเทศ โดยมีเส้นทางไปยังสิงคโปร์ ปัตตาเวีย ชวา และเกาะบัลลิทัน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่เรือรบไทย คือ เรือหลวงมกุฎราชกุมารสามารถเดินทางไปฝึก และอวดธงยังต่างประเทศ โดยมีกำลังพลประจำเรือเป็นคนไทยทั้งหมด ต่อมาในปี พ.ศ.2454 พระองค์ได้ทรงออกจากราชการเป็นเวลา 6 ปีเศษ โดยในระหว่างนั้น ทรงศึกษาตำราหมอยาไทยอย่างแท้จริง จนมีความรู้ในวิชาแพทย์แผนโบราณอย่างแตกฉาน ทรงช่วยเหลือรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้กับประชาชนผู้ตกทุกข์ได้ยาก จนประชาชนถวายพระสมัญญานามว่า “หมอพร” นอกจากนั้น ทรงพระปรีชาสามารถทางด้านการดนตรี โดยได้ทรงนิพนธ์บทเพลงปลุกใจของทหารเรือ เช่น เพลงเดินหน้า เพลงดอกประดู่ และเพลงดาบของชาติ ซึ่งถือเป็นมรดกอันล้ำค่าที่อยู่ในใจของทหารเรือทุกคน และในปี พ.ศ.2460 ทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้กลับเข้ารับราชการในตำแหน่ง จเรทหารเรือ และเสนาธิการทหารเรือ ตามลำดับ และด้วยสายพระเนตรที่กว้างไกล ทั้งในด้านยุทธศาสตร์ และยุทธวิธี ทรงมีลายพระหัตถ์กราบบังคมทูลขอพระราชทานที่ดินที่สัตหีบ บริเวณตั้งแต่เกล็ดแกล้ว จนถึง แสมสาร เพื่อใช้เป็นที่ตั้งฐานทัพเรือ ซึ่งได้พัฒนาก้าวหน้ามาเป็นที่ตั้งหน่วยกำลังรบที่สำคัญของกองทัพเรือในปัจจุบัน ในปี พ.ศ.2466 ทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดของทหารเรือในขณะนั้น แต่หลังจากนั้นไม่นานก็ทรงประชวร จึงได้ลาราชการออกไปเพื่อพักผ่อนรักษาพระองค์ที่ด้านใต้ปากน้ำเมืองชุมพร ซึ่งเป็นที่ทรงจองไว้ทำสวน ขณะที่ประทับอยู่ที่ชุมพร ก็เกิดเป็นพระโรคไข้หวัดใหญ่ และทรงประชวรอยู่เพียง 3 วัน ก็สิ้นพระชนม์ ที่ตำบลหาดทรายรี จังหวัดชุมพร ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2466 สิริรวมพระชนมายุ 44 ชันษา ด้วยพระปรีชาสามารถ และพระกรุณาธิคุณทรงมีต่อ กองทัพเรือ ส่งผลให้ กองทัพเรือ มีความมั่นคงดำรงอยู่ได้อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี พัฒนาก้าวหน้าทัดเทียมกองทัพเรือ อารยประเทศ และสามารถป้องกันประเทศทางทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพมาจนถึงปัจจุบัน ทหารเรือทุกคนจึงเคารพเทิดทูนบูชาพระองค์อย่างหาที่เปรียบมิได้ และพร้อมใจถวายพระนามพระองค์ให้ทรงเป็น “องค์พระบิดาของทหารเรือไทย” สืบต่อมาถึงปัจจุบัน

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความคิดเห็น
1. โปรดงดเว้น การใช้คำหยาบคาย ส่อเสียด ดูหมิ่น กล่าวหาให้ร้าย สร้างความแตกแยก หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
2. ทุกความคิดเห็นไม่เกี่ยวข้องกับ "บันทึกภูเก็ต" และไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้
3. "บันทึกภูเก็ต" ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ต่อเจ้าของความคิดเห็น
เพื่อให้การแสดงความคิดเห็นเป็นไปตามกฎกติกาที่วางไว้ "บันทึกภูเก็ต" ได้ปรับปรุงระบบการกรองคำให้เข้มงวดยิ่งขึ้น
กรุณารอสักครู่ ก่อนที่ความคิดเห็นของท่านจะถูกนำขึ้นแสดง
เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:


ความคิดเห็น: คำแนะนำ: HTML จะไม่ถูกแปลง!

ความนิยม: แย่            ดี

ป้อนรหัสในกล่องข้างล่างนี้:

อบจ.ภูเก็ตร่วมพิธีบวงสรวงวันคล้ายวันประสูติกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
กดเพื่อขยายขนาด
อบจ.ภูเก็ตร่วมพิธีบวงสรวงวันคล้ายวันประสูติกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
กดเพื่อขยายขนาด
อบจ.ภูเก็ตร่วมพิธีบวงสรวงวันคล้ายวันประสูติกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
กดเพื่อขยายขนาด
อบจ.ภูเก็ตร่วมพิธีบวงสรวงวันคล้ายวันประสูติกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
กดเพื่อขยายขนาด
อบจ.ภูเก็ตร่วมพิธีบวงสรวงวันคล้ายวันประสูติกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
กดเพื่อขยายขนาด